สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม (EI)
สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
ENTREPRENEURSHIP AND INNOVATION PROGRAM
ออกแบบธุรกิจ คิดต่าง สร้างนวัตกรรม
หลักสูตรปริญญาโท เรียนวันเสาร์ - อาทิตย์
สำเร็จการศึกษาใน 1 ปี 8 เดือน

CREATIVE INDUSTRY

FOOD & BEVERAGE

COSMETIC & SUPPLEMENT

NEW S-CURVE
สร้างธุรกิจใหม่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต เช่น พลังงานทางเลือก และเทคโนโลยี
สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม (EI)
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
- บุคคลทั่วไปที่สนใจในการเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัว (Nascent Entrepreneur)
- ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นกิจการไปแล้วและต้องการแนวคิดเพิ่มเติมในการบริหารหรือต่อยอดธุรกิจ (SME)
- ทายาทธุรกิจหรือเจ้าของกิจการที่ต้องการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ดีขึ้น (Family Business Successor)
- พนักงานหรือผู้ทำงานในบริษัทที่ต้องพัฒนากิจการใหม่ (Intrapreneurship)
โอกาสในการทำงานในอนาคต
- เป็นผู้ประกอบการที่สร้างธุรกิจใหม่ ให้แตกต่างและมีกิจการเป็นของตนเอง
- เป็นพนักงานบริษัทในฝ่ายพัฒนาธุรกิจใหม่ สร้างสรรค์นวัตกรรม
รายละเอียดหลักสูตร
- ภาคพิเศษ (Weekend Program)
- เรียนเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ 9.00 - 12.00 น. และ/หรือ 13.30 - 16.30 น.
- ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตรประมาณ 1ปี 8 เดือน
ทำไมต้องเรียนสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม หลักสูตรไทย

สาขาในหลักสูตรไทย
ติดต่อหน่วยรับเข้าศึกษา
-
662 206 2000 ต่อ 3102 หรือ 3104
- cmmumahidol
-
Line Official: @cmmu
-
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
แนวคิดของหลักสูตร
- Entrepreneurial Mindset ชุดความเชื่อและกระบวนทัศน์การมองโลกแบบผู้ประกอบการ
- Creativity & Design ความคิดสร้างสรรค์ในการมองโอกาสและแก้ปัญหา
- Technology Adoption ความสามารถในการสร้างหรือนำเทคโยโลยีเข้ามาปรับใช้ในบริบทต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กิจการ
- Business Management ความรู้ในการบริหารธุรกิจ ผ่านองค์ประกอบต่างๆ ทั้งเรื่องของการเงิน การปกครองคน เศรษฐศาสตร์ และการดำเนินงานต่างๆ


-
Business Model and Strategy Development
แค่แนวคิดดีๆ อย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไปในทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน แนวคิดดีๆเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จได้นั้นยังต้องมี โมเดลทางธุรกิจที่ดีและการวางกลยุทธ์ที่ถูกต้องอีกด้วย มาร่วมเรียนรู้ แนวคิดโมเดลธุรกิจที่หลากหลาย และการวางกลยุทธ์ต่างๆเพื่อให้กิจการขนาดเล็กหรือกิจการที่เพิ่งเริ่มต้นนั้นสามารถที่จะมีที่ยืนและสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ -
Entrepreneurial Marketing
ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เริ่มต้นกิจการใหม่นั้นมีต้นทุนที่แตกต่างจากองค์กรขนาดใหญ่ จึงต้องทำการตลาดที่แตกต่างไปจากการตลาดในรูปแบบเดิม ผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับมือกับสิ่งแวดล้อมที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายใต้ข้อจำกัดมากมาย ผู้ประกอบการจึงต้องเน้นเรื่องการสร้างคุณค่าที่แตกต่างและรับมือได้ในทุกสถานการณ์เพื่อผลลัพธ์ทางการตลาดที่แตกต่าง ในวิชานี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้แบบผสมผสานผ่านเกมจำลองทางธุรกิจ (Simulation) กรณีศึกษา และวิทยาการพิเศษจากภายนอก -
Financial and Technology Management
การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การวางแผนและบริหารทางการเงินถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญต่อผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้ประกอบการยุคใหม่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจทุกขนาด เพื่อความรู้ความเข้าใจในหลักการและเครื่องมือเทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์ทางการเงิน หรือแม้แต่เพื่อการนำเสนอและแสวงหาโอกาสในการระดมทุนจากนักลงทุน ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ถูกออกแบบการเรียนรู้ที่บูรณาการอย่างลงตัวระหว่างหลักการสำคัญและกรณีศึกษาในภาคปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อผู้ประกอบการอย่างแท้จริง -
Management of Innovation
นวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบการและผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ รู้จักเครื่องมือที่จะช่วยในการวิเคราะห์เพื่อเชื่อมผ่านตั้งแต่จุดเริ่มต้นของความคิดริเริ่ม ไปสู่ปรับและผสมผสานของรูปแบบนวัตกรรมที่เป็นที่ต้องการ จนสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือการทำการตลาดให้เป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ผู้ประกอบการและผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้องเข้าถึงการความหลากหลายของกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมในปัจจุบันและสามารถวางกรอบของการพัฒนาองค์กรเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งงนวัตกรรมที่ยั่งยืนได้ -
New Venture Creation
ทำความเข้าใจกับจุดเริ่มต้นของกิจการใหม่ที่มีที่อาจมีที่มาไม่เหมือนกัน แต่ทุกกิจการเริ่มต้นจากจุดเดียวกันคือ ไอเดียบางอย่าง เช่น การเริ่มต้นจากปัญหา จากความหลงไหลของผู้ก่อตั้ง หรือบางกิจการเริ่มต้นจากการมองเห็นโอกาสหรือความเป็นไปได้ใหม่ๆ มาร่วมเรียนรู้วิธีการค้นหาไอเดียผ่านหลายมุมมองและเปลี่ยนแนวคิดต่างๆเหล่านั้นให้เป็น Business Concept หรือแนวคิดทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรม -
Seminar in Entrepreneurship Management
การเป็นผู้ประกอบการนั้นต้องสามารถที่จะเรียนรู้ที่จะสร้าง “โจทย์” ขึ้นมาได้ด้วยตัวเองและเลือกเส้นทางเดินต่างๆของชีวิตผู้ประกอบการได้อย่างมั่นใจ ในวิชานี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของผู้ประกอบการ ผ่านการสัมภาษณ์ การลงพื้นที่ต่าง เพื่อที่จะได้ สัมผัสชีวิตผู้ประกอบการจริงในหลายแง่มุมทั้ง ผู้ประกอบการระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการเพื่อสังคม ผู้ประกอบการที่ต้องสืบทอดกิจการ และผู้ประกอบการที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่
Business Creativity and Design Thinking
ตัวอย่างวิชา Business Creativity & Design Thinking โดย ดร. ตรียุทธ พรหมศิริ

วิชาเลือกอื่น ๆ ของสาขา
- Corporate Entrepreneurship and Innovation
- Business and Sales Pitching Strategy
- Commercial Management for Technology and Intellectual Property
- New Product and Platform Development
- Strategic Supply Chain Management
พบกับกิจกรรมและสัมมนาที่หลากหลาย


"ชวินทร์ ศรีโชติ" เคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมยางล้อตันประหยัดพลังงาน

"โย - ทรงวุฒิ" ดีไซเนอร์ Renim Project เป้าหมายที่มองไกลกว่าการเป็นแบรนด์แฟชั่น

“เฟิร์น-สุสินี ขนอม” เบรล แอนด์ ซาวด์ ฟอร์บลายด์ หนังสือเสียงคนในโลกมืด

Exclusive Partner
(CMMU x EXIM BANK)
-
Exim 1
-
Exim 2
-
Exim 3
อาจารย์ประจำสาขา

-
ดร.ธนพล วีราสา
สอนวิชา New Venture Creation
Assistant Professor -
ดร.ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี
สอนวิชา Management of Innovation
Associate Professor -
ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา
สอนวิชา Seminar in Entrepreneurship Management
Associate Professor -
ดร.กิตติชัย ราชมหา
สอนวิชา Financial & Technology Management
Assistant Professor -
ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ
สอนวิชา Design & Creativity
-
ดร.กฤษกร
สุขเวชชวรกิจสอนวิชา Business Model and Strategy
-
คุณสมบัติของผู้สมัคร
การศึกษาในระดับปริญญาตรี สำเร็จการศึกษาก่อนวันปิดรับสมัคร ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ
ผลที่ใช้ต้องไม่เกิน 2 ปีหลังจากวันที่สอบ1. ทดสอบ TOEFL ITP กับทางวิทยาลัย หรือ
2. ยื่นผลการสอบ TOEFL ITP คะแนนสูงกว่า 400 คะแนน หรือ ผลสอบ IELTS คะแนนสูงกว่า 3.0ประสบการณ์การทำงาน
หากมีประสบการณ์ในการทำงาน
จะเป็นประโยชน์ในการสัมภาษณ์และการเรียนในระดับปริญญาโทหมายเหตุ ยกเว้นการสอบภาษาอังกฤษ สำหรับ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากประเทศ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตเรีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ และ สิงคโปร์
-
โครงสร้างหลักสูตร
นักศึกษาทุกสาขาวิชาต้องเรียนวิชาแกนครบทั้ง 5 วิชา โดยทั่วไปนักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาบังคับครบทุกวิชาภายใน 3 ภาคการศึกษาแรก นักศึกษาจะสามารถเข้าสอบประมวลความรู้ได้ หลังจากสอบผ่านวิชาแกนครบทั้ง 5 วิชาแล้ว (สำหรับนักศึกษารหัส 64 เป็นต้นไป)
หมวดวิชาแกน
(15 หน่วยกิต)
- Digital Business Management
- Thai Economy in Global Context
- Strategic Marketing Management
- Corporate Finance
- Contemporary Management
(12 หน่วยกิต)- Business Research
- Business Model and Strategy Development
- Management of Innovation
- New Venture Creation
สารนิพนธ์ (6 หน่วยกิต)หมวดวิชาเลือก
(6-12 หน่วยกิต)- Entrepreneurial Marketing
- Corporate Entrepreneurship and Innovation
- Seminar in Management
- Business Creativity and Design Thinking
- Financial and Technology Management for Entrepreneurs
- Business and Sales Pitching Strategy
- Commercial Management for Technology and Intellectual Property
- New Product and Platform Development
- Strategic Supply Chain Management
รวม 45 หน่วยกิต -
การสำเร็จการศึกษา
- มีเวลาศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 5 ปีการศึกษา
- ศึกษารายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามโครงสร้างของหลักสูตร และได้รับสัญลักษณ์แสดงผลการศึกษา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
- ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 สอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)
- สอบผ่านการป้องกันวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์
- ส่ง รูปเล่มวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ฉบับสมบูรณ์ ที่จัดพิมพ์ตามจำนวนและตามรูปแบบที่วิทยาลัยการจัดการกำหนด
- ต้องได้คะแนนสอบภาษาอังกฤษ ตามประกาศของวิทยาลัย
-
คำบรรยายรายวิชา
หัวหน้าสาขา
สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม

ดร. ตรียุทธ พรหมศิริ
-
662 206 2000 ต่อ 2135
-
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. -
ห้อง 1201 ชั้น 12 อาคารมหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต
ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ตลอดหลักสูตร
รายละเอียด | เรียนปรับพื้นฐาน | เทอม 1 | เทอม 2 | เทอม 3 | เทอม 4 | เทอม 5 | รวม |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1. ค่าบำรุงการศึกษา | - | 30,000 | 30,000 | 30,000 | 30,000 | 30,000 | 150,000 |
2. ค่าธรรมเนียมแรกเข้า | 30,000 | - | - | - | - | - | 30,000 |
3. ค่าหน่วยกิต1 | - | 24,300 | 24,300 | 24,300 | 24,300 | 24,300 | 121,500 |
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร | 30,000 | 54,300 | 54,300 | 54,300 | 54,300 | 54,300 | 301,500 |
1. นักศึกษาทุกคนต้องลงเรียนไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต ค่าหน่วยกิตข้างต้นไม่รวมค่าหนังสือเรียน (Textbook)
2. ค่าเรียนวิชาเสริมพื้นฐาน (เฉพาะนักศึกษาที่มีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ)
- วิชาบัญชี 7,000 บาท
- วิชาการพัฒนาทักษะด้านการจัดการ 3,000 บาท
- วิชาภาษาอังกฤษ 7,000 บาท
- วิชาคณิตศาสตร์ (เฉพาะสาขาการเงิน) 7,000 บาท
- วิชาสถิติเพื่อการจัดการ (ยกเว้นสาขาการเงิน) 2,000 บาท
ดาวโหลด ตารางค่าใช้จ่าย

เยาวรัตน์ ปัญญาธีระ (พี่โอ๋)
ผู้ประสานงานสาขา
ติดต่อผู้ประสานงานสาขา
- วันจันทร์-ศุกร์ 10.00 - 18.00
- วันเสาร์-อาทิตย์ 8.30 - 16.30
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
-
662 206 2000 ext. 3206
-
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. -
ชั้น 10 อาคารมหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต
Read more …สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม (EI)
- Hits: 61946