ปริญญาโท การจัดการมหาบัณฑิต หลักสูตรไทย

วิทยาลัยการจัดการได้ดำเนินการเปิดสอนการจัดการมหาบัณฑิต หลักสูตรไทย เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียน และเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยมุ่งเน้นการนำหลักการที่เป็นทฤษฎีมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน

สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม (EI)

สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม ที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เหมาะสำหรับใครที่ต้องการสร้างกิจการใหม่และอยากสืบทอดกิจการเก่าด้วยมุมมองใหม่ องค์ความรู้ต่างๆในสาขานั้นได้ถูกออกแบบมาสำหรับใครที่เชื่อว่า การสร้างโอกาสใหม่ๆด้วยนวัตกรรมควบคู่กับการบริหารธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพนั้นคือสาระสำคัญของการเป็นผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • บุคคลทั่วไปที่มองหาโอกาสต้องการเริ่มกิจการส่วนตัว (Anyone who is interested in entrepreneurship)
  • ผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วและต้องการแนวคิดเพิ่มเติมในการบริหารหรือขยายธุรกิจ (SME & Nascent Entrepreneur)
  • ทายาทธุรกิจหรือผู้สืบทอดกิจการที่ต้องปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อบริบทปัจจุบัน (Transformational Successor )
  • บุคคลที่ต้องการแก้ปัญหาทางสังคมและสร้างกิจการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurship)

โอกาสในการทำงานในอนาคต

  • ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นใหม่ ที่มุ่งเน้นด้านนวัตกรรม (Innovative Startup)
  • ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มุ่งเน้นด้านนวัตกรรม (Innovative SMEs)

รายละเอียดหลักสูตร

  • ภาคพิเศษ
  • เรียน 3 วันต่อสัปดาห์
  • วันธรรมดา 18.00 – 21.00 น.และ/หรือ
    วันเสาร์ อาทิตย์ 9.00 - 12.00 น. และ/หรือ 13.30 - 16.30 น.
  • ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตรประมาณ 18 เดือน
***ตารางเรียนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมในแต่ละเทอม

ทำไมต้องเรียนสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม หลักสูตรไทย

สาขาในหลักสูตรไทย

ติดต่อหน่วยรับเข้าศึกษา

  • 662 206 2000 ต่อ 3102 หรือ 3104
  • Line Official: @cmmu
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

INNOVATIVE
ENTREPRENEUR

TRANSFORMATIONAL
SUCCESSOR

SOCIAL
ENTREPRENEUR

แนวคิดของหลักสูตร

ผู้ประกอบการคือผู้ที่ประกอบ “การณ์” ต่างๆ ขึ้นมาจนเป็นกิจการ ดังนั้นศาสตร์ความรู้ของการเป็นผู้ประกอบการนั้นจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เป็น สหวิชาการ (Multidisciplinary) คือประกอบด้วยองค์ความรู้หลากหลายที่คนที่อยากเป็นเจ้าของกิจการนั้นต้องเข้าใจ ทั้งนี้องค์ความรู้ต่างๆนั้นประกอบไปด้วย
  • Entrepreneurial Mindset ชุดความเชื่อและกระบวนทัศน์การมองโลกแบบผู้ประกอบการ
  • Creativity & Design ความคิดสร้างสรรค์ในการมองโอกาสและแก้ปัญหา
  • Technology Adoption ความสามารถในการสร้างหรือนำเทคโยโลยีเข้ามาปรับใช้ในบริบทต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กิจการ
  • Business Management ความรู้ในการบริหารธุรกิจ ผ่านองค์ประกอบต่างๆ ทั้งเรื่องของการเงิน การปกครอบคน เศรษฐศาสตร์ และการดำเนินงานต่างๆ
องค์ความรู้ทั้งสี่ด้านที่ผู้ประกอบการควรรู้นั้นได้ถูกนำมาออกแบบร้อยเรียงในชีวิตการเรียนทั้งสิ้นทั้ง 5 ภาคเรียน โดยที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของการบริหารธุรกิจในภาคเรียนแรก และได้เรียนทักษะการบริหารจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี ต่อในภาคเรียนที่ 3 และ 4 หลังจากนั้นจึงได้เพิ่มทักษะความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมในเทอมที่ 4 และ 5 สำหรับการจบการศึกษาผู้เรียนจะได้เลือกทำ วิทยานิพนธ์หรือสาระนิพนธ์ในหัวข้อที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างธุรกิจใหม่ การต่อยอดธุรกิจเดิม หรือการสร้างกิจการเพื่อสังคม

Business Model and Strategy Development

แค่แนวคิดดีๆ อย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไปในทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน แนวคิดดีๆเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จได้นั้นยังต้องมี โมเดลทางธุรกิจที่ดีและการวางกลยุทธ์ที่ถูกต้องอีกด้วย มาร่วมเรียนรู้ แนวคิดโมเดลธุรกิจที่หลากหลาย และการวางกลยุทธ์ต่างๆเพื่อให้กิจการขนาดเล็กหรือกิจการที่เพิ่งเริ่มต้นนั้นสามารถที่จะมีที่ยืนและสร้างโอกาสทางธุรกิจได้

Entrepreneurial Marketing

ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เริ่มต้นกิจการใหม่นั้นมีต้นทุนที่แตกต่างจากองค์กรขนาดใหญ่ จึงต้องทำการตลาดที่แตกต่างไปจากการตลาดในรูปแบบเดิม ผู้ประกอบการต้องปรับตัวรับมือกับสิ่งแวดล้อมที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายใต้ข้อจำกัดมากมาย ผู้ประกอบการจึงต้องเน้นเรื่องการสร้างคุณค่าที่แตกต่างและรับมือได้ในทุกสถานการณ์เพื่อผลลัพธ์ทางการตลาดที่แตกต่าง ในวิชานี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้แบบผสมผสานผ่านเกมจำลองทางธุรกิจ (Simulation) กรณีศึกษา และวิทยาการพิเศษจากภายนอก

Financial and Technology Management

การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การวางแผนและบริหารทางการเงินถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญต่อผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้ประกอบการยุคใหม่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจทุกขนาด เพื่อความรู้ความเข้าใจในหลักการและเครื่องมือเทคโนโลยีสำหรับการวิเคราะห์ทางการเงิน หรือแม้แต่เพื่อการนำเสนอและแสวงหาโอกาสในการระดมทุนจากนักลงทุน ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ถูกออกแบบการเรียนรู้ที่บูรณาการอย่างลงตัวระหว่างหลักการสำคัญและกรณีศึกษาในภาคปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อผู้ประกอบการอย่างแท้จริง

Management of Innovation

นวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ผู้ประกอบการและผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ รู้จักเครื่องมือที่จะช่วยในการวิเคราะห์เพื่อเชื่อมผ่านตั้งแต่จุดเริ่มต้นของความคิดริเริ่ม ไปสู่ปรับและผสมผสานของรูปแบบนวัตกรรมที่เป็นที่ต้องการ จนสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือการทำการตลาดให้เป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ผู้ประกอบการและผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้องเข้าถึงการความหลากหลายของกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมในปัจจุบันและสามารถวางกรอบของการพัฒนาองค์กรเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งงนวัตกรรมที่ยั่งยืนได้

New Venture Creation

ทำความเข้าใจกับจุดเริ่มต้นของกิจการใหม่ที่มีที่อาจมีที่มาไม่เหมือนกัน แต่ทุกกิจการเริ่มต้นจากจุดเดียวกันคือ ไอเดียบางอย่าง เช่น การเริ่มต้นจากปัญหา จากความหลงไหลของผู้ก่อตั้ง หรือบางกิจการเริ่มต้นจากการมองเห็นโอกาสหรือความเป็นไปได้ใหม่ๆ มาร่วมเรียนรู้วิธีการค้นหาไอเดียผ่านหลายมุมมองและเปลี่ยนแนวคิดต่างๆเหล่านั้นให้เป็น Business Concept หรือแนวคิดทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรม

Seminar in Entrepreneurship Management

การเป็นผู้ประกอบการนั้นต้องสามารถที่จะเรียนรู้ที่จะสร้าง “โจทย์” ขึ้นมาได้ด้วยตัวเองและเลือกเส้นทางเดินต่างๆของชีวิตผู้ประกอบการได้อย่างมั่นใจ ในวิชานี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของผู้ประกอบการ ผ่านการสัมภาษณ์ การลงพื้นที่ต่าง เพื่อที่จะได้ สัมผัสชีวิตผู้ประกอบการจริงในหลายแง่มุมทั้ง ผู้ประกอบการระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการเพื่อสังคม ผู้ประกอบการที่ต้องสืบทอดกิจการ และผู้ประกอบการที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่

Business Creativity and Design Thinking

Creative Destruction หรือการลบล้างสร้างใหม่ด้วยนวัตกรรมคือหัวใจของการเป็นผู้ประกอบการ เนื้อหาในวิชาจะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงกระบวนการสร้างแนวความคิดใหม่ๆ และสร้างนวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อสร้างคุณค่าที่เป็นที่ต้องการ ทั้งยังเข้าใจถึงทักษะการคิดเชิงอนาคต และเรียนรู้การสร้างองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์

ตัวอย่างวิชา Business Creativity & Design Thinking โดย ดร. ตรียุทธ พรหมศิริ

วิชาเลือกอื่น ๆ ของสาขา

  • Corporate Entrepreneurship and Innovation
  • Business and Sales Pitching Strategy
  • Commercial Management for Technology and Intellectual Property
  • New Product and Platform Development
  • Strategic Supply Chain Management

ทำไมถึงเลือกเรียนที่วิทยาลัยการจัดการ

"ชวินทร์ ศรีโชติ" เคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมยางล้อตันประหยัดพลังงาน

"โย - ทรงวุฒิ" ดีไซเนอร์ Renim Project เป้าหมายที่มองไกลกว่าการเป็นแบรนด์แฟชั่น

“เฟิร์น-สุสินี ขนอม” เบรล แอนด์ ซาวด์ ฟอร์บลายด์ หนังสือเสียงคนในโลกมืด

พบกับกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ท่านเป็นผู้ประกอบการ

"HealthTech for Aging Society" ได้รับเสียงตอบรับจาก startup และ ผู้ประกอบการ

"PROP TECH...นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต" สัมมนาประกอบด้วย Startup

"THE PERFECT PITCH พิชิตฝัน นักปั้นธุรกิจ" กับบรรยากาศงานที่อบอุ่น

อาจารย์ประจำสาขา

อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชานั้นเป็นอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถเชิงลึกและประสบการณ์ตรงที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างผู้ประกอบการด้วยประสบการณ์ที่หลากหลาย เช่นเป็นที่ปรึกษาองค์กร เป็นผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ตรง เป็นนักลงทุน Venture Capitalist อาจารย์ทุกท่านได้นำผนวกความรู้วิชาการรวมทั้งประสบการณ์ตรงทางธุรกิจเพื่อมาถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน นอกเหนือจากอาจารย์ประจำของวิทยาลัยการจัดการแล้ว ทางสาขายังได้รับเกียรติจากอาจารย์พิเศษ และวิทยากรคุณภาพมากมายที่มาร่วม ให้ประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ

ดร.ธนพล วีราสา

Assistant Professor
สอนวิชา New Venture Creation

ดร.ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี

Associate Professor
สอนวิชา Management of Innovation

ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา

Associate Professor
สอนวิชา Seminar in Entrepreneurship Management

ดร.กิตติชัย ราชมหา

Assistant Professor
สอนวิชา Financial & Technology Management
  • คุณสมบัติของผู้สมัคร

    การศึกษาในระดับปริญญาตรี สำเร็จการศึกษาก่อนวันปิดรับสมัคร
    ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ
    ผลที่ใช้ต้องไม่เกิน 2 ปีหลังจากวันที่สอบ
    1. ทดสอบ TOEFL ITP กับทางวิทยาลัย หรือ
    2. ยื่นผลการสอบ TOEFL ITP คะแนนสูงกว่า 400 คะแนน หรือ ผลสอบ IELTS คะแนนสูงกว่า 3.0

    ประสบการณ์การทำงาน

    หากมีประสบการณ์ในการทำงาน
    จะเป็นประโยชน์ในการสัมภาษณ์และการเรียนในระดับปริญญาโท

    หมายเหตุ ยกเว้นการสอบภาษาอังกฤษ สำหรับ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากประเทศ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตเรีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ และ สิงคโปร์

  • โครงสร้างหลักสูตร

    นักศึกษาทุกสาขาวิชาต้องเรียนวิชาแกนครบทั้ง 5 วิชา โดยทั่วไปนักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาบังคับครบทุกวิชาภายใน 3 ภาคการศึกษาแรก นักศึกษาจะสามารถเข้าสอบประมวลความรู้ได้ หลังจากสอบผ่านวิชาแกนครบทั้ง 5 วิชาแล้ว (สำหรับนักศึกษารหัส 64 เป็นต้นไป)

    หมวดวิชาแกน
    (15 หน่วยกิต)
    • Digital Business Management
    • Thai Economy in Global Context
    • Strategic Marketing Management
    • Corporate Finance
    • Contemporary Management
    หมวดวิชาบังคับ
    (12 หน่วยกิต)
    • Business Research
    • Business Model and Strategy Development
    • Management of Innovation
    • New Venture Creation
    วิทยานิพนธ์ (15 หน่วยกิต) หรือ
    สารนิพนธ์ (6 หน่วยกิต)
    หมวดวิชาเลือก
    (6-12 หน่วยกิต)
    • Entrepreneurial Marketing
    • Corporate Entrepreneurship and Innovation
    • Seminar in Management
    • Business Creativity and Design Thinking
    • Financial and Technology Management for Entrepreneurs
    • Business and Sales Pitching Strategy
    • Commercial Management for Technology and Intellectual Property
    • New Product and Platform Development
    • Strategic Supply Chain Management
    รวม 45 หน่วยกิต
  • การสำเร็จการศึกษา

    1. มีเวลาศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 5 ปีการศึกษา
    2. ศึกษารายวิชาต่างๆ ครบถ้วนตามโครงสร้างของหลักสูตร และได้รับสัญลักษณ์แสดงผลการศึกษา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
    3. ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 สอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)
    4. สอบผ่านการป้องกันวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์
    5. ส่ง รูปเล่มวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ฉบับสมบูรณ์ ที่จัดพิมพ์ตามจำนวนและตามรูปแบบที่วิทยาลัยการจัดการกำหนด
    6. ต้องได้คะแนนสอบภาษาอังกฤษ ตามประกาศของวิทยาลัย

หัวหน้าสาขา

การจัดการธุรกิจสุขภาพ

ดร. ตรียุทธ พรหมศิริ

  • 662 206 2000 ต่อ 2135
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • ห้อง 1201 ชั้น 12 อาคารมหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต

ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ตลอดหลักสูตร

รายละเอียด เรียนปรับพื้นฐาน เทอม 1 เทอม 2 เทอม 3 เทอม 4 เทอม 5 รวม
1. ค่าบำรุงการศึกษา - 30,000 30,000 30,000 30,000 30,000 150,000
2. ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 30,000 - - - - - 30,000
3. ค่าหน่วยกิต1 - 24,300 24,300 24,300 24,300 24,300 121,500
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 30,000 54,300 54,300 54,300 54,300 54,300 301,500
Remark
1. นักศึกษาทุกคนต้องลงเรียนไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต ค่าหน่วยกิตข้างต้นไม่รวมค่าหนังสือเรียน (Textbook)
2. ค่าเรียนวิชาเสริมพื้นฐาน (เฉพาะนักศึกษาที่มีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ)
  • วิชาบัญชี 7,000 บาท
  • วิชาการพัฒนาทักษะด้านการจัดการ 3,000 บาท
  • วิชาภาษาอังกฤษ 7,000 บาท
  • วิชาคณิตศาสตร์ (เฉพาะสาขาการเงิน) 7,000 บาท
  • วิชาสถิติเพื่อการจัดการ (ยกเว้นสาขาการเงิน) 2,000 บาท

ดาวโหลด ตารางค่าใช้จ่าย

หมายเหตุ เอกสารข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า กรุณาติดต่องานสนับสนุนการศึกษาและวิชาการ หากต้องการนำไปใช้อย่างเป็นทางการ

เยาวรัตน์ ปัญญาธีรา (พี่โอ๋)
ผู้ประสานงานสาขา

ติดต่อผู้ประสานงานสาขา

หากท่านมีข้อสงสัยในสาขา หรือเนื้อหาวิชาของสาขา กรุณาติดต่อผู้ประสานงานสาขาได้ในเวลาดังต่อไปนี้
  • วันธรรมดา 10.00 - 18.00
  • วันหยุดเสาร์อาทิตย์ 8.30 - 16.30 (ยกเว้นวันหยุดนขัตฤกษ์)
  • 662 206 2000 ext. 3206
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • ชั้น 10 อาคารมหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต

ADMISSION CALL CENTER: +662 206 2000 ext. 3102, 3104

STUDY WITH US

We offer a world-class education at
a world-leading university in center of Bangkok.

Admission Enquiries

For assistance with CMMU admission please contact
69 Vipawadee Rangsit Road
Samsennai, Phayathai District,
Bangkok, Thailand 10400
Tel: 662 206 2000
  • 662 206 2000 ext. 3102 or 3104
  • Line Official: @cmmu
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Follow us

Copyright © 2023 College of Management Mahidol University. All Rights Reserved.